กรุณารอสักครู่...
โปรโมชัน
Cart
Cart

หมวดหมู่สินค้า

อร่อยทั่วไทย

ของรักไปรษณีย์ไทย

ขุมทรัพย์ของดี

นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน

สินค้าดีฝีมือเด็ด

ของฮิตติดกระแส

ของดีตามฤดู

THPSHOP

ภาษา

TH

|

EN

|

FR

|

JA

|

CN

ผ้าขาวม้าหมักน้ำนมข้าว ของดีบ้านคลองน้ำหู
ผ้าขาวม้าหมักน้ำนมข้าว ของดีบ้านคลองน้ำหู
27 พ.ค. 2024

แชร์

ผ้าขาวม้าหมักน้ำนมข้าว ของดีบ้านคลองน้ำหู

            ผ้าขาวม้า มีลักษณะเป็นผ้ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีลวดลายต่างกันไป โดยมีการใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายที่ใช้นุ่งอาบน้ำ เช็ดตัว หรือทำเปล โดยในประเทศไทยมีการเรียกผ้าขาวม้าแตกต่างกันไปตามภูมิภาคต่างๆ

  • -ภาคกลาง เรียกว่า “ ผ้าขาวม้า ” โดยผ้าหนึ่งผืนจะใช้ประมาณ 4 สี ทอสลับกันไปตามแนวเส้นพุ่งและเส้นยืน
  • -ภาคใต้ เรียกว่า “ ผ้าซักอาบ หรือ ผ้าชุบ ” จะใช้ผ้าฝ้ายอย่างดีในการทอ
  • -ภาคอีสาน เรียกว่า “ ผ้าอีโบ้ ”  มี 2 ลักษณะ คือ ผ้าแพรขาวม้า มีลวดลายสี่เหลี่ยมจัตุรัสคล้ายตารางหมากรุก และ ผ้าแพรไส้ปลาไหล มีลวดลายเป็นริ้วๆ คล้ายกับปลาไหลที่ถูกผ่าท้องควักไส้ออกมา จึงเห็นเนื้อปลาไหลเป็นริ้วๆ
  • -ภาคเหนือ เรียกว่า “ ผ้าหัว ผ้าตะโก้ง หรือ ตาโก้ง ” ตรงบริเวณเชิงของผ้าจะใช้เทคนิคการจกลวดลายเข้าไปเพิ่ม โดยลายที่จกเข้าไปจะเน้นลายตามคตินิยมของแต่ละชุมชน เช่น ลายนก ลายช้าง ลายม้า ลายเจดีย์ ลายยกดอก


            โดยวิสาหกิจชุมชนคลองน้ำหูผ้าหมักน้ำนมข้าว จังหวัดระยอง เห็นถึงความสำคัญของการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ ในปี พ.ศ. 2559  จึงมีการตั้งปณิธานไว้ว่า “ จะขอสืบขอสานตามแนวทางแม่ได้วางไว้ให้ในเรื่องผ้า อนุรักษ์ รักษา พัฒนา ร่วมสืบสานงานของแม่ ด้วยใจภักดิ์ ” โดยการนำข้าว วัตถุดิบหลักของไทย มาใช้ในกระบวนการผลิตผ้าหมักน้ำนมข้าว ทำให้ผ้ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดดเด่นมากยิ่งขึ้น ทั้งมีความนุ่มลื่น และ มีกลิ่นหอม ตอบโจทย์ในการใช้งาน เนื่องจากมีความนุ่มลื่นใส่สบาย รวมไปถึงผู้ที่ผิวแพ้ง่าย ผู้ป่วยติดเตียง ก็สามารถใช้ได้ 

            มีการจัดจำหน่ายสินค้าภายใต้แบรนด์ที่ชื่อว่า “ สานเส้นฝ้าย (Sansenfay) ” ที่ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ( มผช. ), การรับรองการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ของ “ เสื้อผ้าสำเร็จรูปหญิง ” จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ( สมอ. ) และอื่นๆอีกมากมาย


โดยมีกระบวนการผลิต ดังนี้

  1. 1, การเตรียมต้นข้าว โดยการเลือกต้นข้าวที่ตั้งท้องอายุประมาณ 110 วัน เนื่องจากมีน้ำนมข้าวมาก โดยการนำข้าวมาผ่านกระบวนการคั่วข้าว > การตำข้าว > การเป่าแกลบ > การตำข้าว > การฝัดข้าว > การแยกเมล็ดข้าวเม่าและจมูกข้าว 
  2. 2. เมื่อได้จมูกข้าวมาแล้ว ทำการแช่จมูกข้าว ประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วนำไปคั้น และ กรองด้วยผ้าขาวบาง  จนได้น้ำนมข้าวจากจมูกข้าว *** กากจมูกข้าวละเอียดสามารถนำไปทำสบู่ และ ปุ๋ยได้
  1. 3. กวนน้ำนมข้าวจนแตกและมีกลิ่นหอม ผสมกับหัวน้ำเชื้อและน้ำเปล่าในถังกวน 1-2 ชั่วโมง
  2. 4. นำผ้าฝ้ายหรือผ้าไหม ที่แยกโทนสี ไปต้มด้วยน้ำทะเลเจือจาง ประมาณ 1-2 ชั่วโมง และ ผึ่งให้แห้ง (สามารถใช้น้ำประปาผสมเกลือและสารส้มแทนน้ำทะเลได้)
  3. 5. นำผ้าที่ผึ่งไว้ลงหมักในตุ่มดิน และนำน้ำข้าวที่อยู่ในถังกวนมาใส่ นวดผ้าเพื่อให้น้ำนมข้าวซึมเข้าเนื้อผ้า ทิ้งไว้ 10-12 ชั่วโมง
  4. 6. นำผ้าที่หมักทิ้งไว้ไปผึ่งในร่ม เมื่อแห้งแล้วนำมารีดและบรรจุผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่าย


            โดยใครที่สนใจอยากอุดหนุนสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่สืบสานความเป็นไทย สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ที่… https://bit.ly/4bz9NFR

แหล่งอ้างอิง

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9C%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%B2

https://www.okmd.or.th/okmd-kratooktomkit/4022/