แคบหมูต้มยำ
กรอบ แซ่บ อร่อยไม่ซ้ำใครกับแคบหมูต้มยำ คำเดียวไม่เคยพอ ซื้อเป็นของกินก็ถูกปาก เป็นของฝากก็ถูกใจ
สินค้า 1 ชุด ประกอบด้วย แคบหมูต้มยำขนาด 200 กรัม จำนวน 3 แพ็ก
ร้านศรีพรรณ
ร้านศรีพรรณ จังหวัดเชียงใหม่ ร้านที่เปิดขายมานานกว่า 30 ปี บริเวณตลาดวโรรสหรือกาดหลวงนั่นเองค่ะ และร้านนี้ตั้งอยู่บริเวณชั้นที่ 1 ภายในมีร้านอาหารเหนือขายค่อนข้างเยอะ เช่น แหนม ไส้อั่ว น้ำพริก(ตามฤดูกาล) หมูทอด หมูยอ และอีกมายมายให้ทุกคนได้เลือกความอร่อยกันตามใจชอบ สำหรับร้านศรีพรรณที่เราพาทุกคนมาในวันนี้เปรียบเป็นร้านที่มีการทำน้ำพริกหนุ่มและไส้อั่วที่เหมาะสำหรับการเดินทางไปไหนที่ไกล ๆ หรือใช้เวลานาน โดยไม่ต้องกลัวมันเสีย เพราะ น้ำพริกหนุ่มของทางร้านจะแช่แข็งไว้สำหรับอยู่ได้นาน นอกจากนี้ไส้อั่ของที่นี่ยังได้นำมาบรรจุใส่ถุงสูญญากาศ ไม่มีกลิ่นออกมารบกวนขนาดเดินทางแน่นอน ที่สำคัญสามารถน้ำขึ้นเครื่องกลับรับประทานที่กรุงเทพได้สบาย ๆ อีกด้วยนะ และหากใครที่ชอบไส้อั่วแบบชุ่มช่ำ ทางร้านแนะนำให้ไปทอด หรือ นึงก็ได้ แต่ถ้าคนที่ชอบแบบแห้งๆ ก็เอาเข้าเวฟได้เลย รับประกันความอร่อยแบบไม่รู้ลืม แต่ช้าก่อนหากใครไม่มีโอกาสได้มาเที่ยวเชียงใหม่แบบเรา และอยากกินของอร่อยแบบนี้ ตอนนี้ไปรษณีย์ไทยมีบริการส่งความอร่อยฟรีทั่วประเทศด้วยนะคะ จะช้าอยู่ทำไม อยากซื้อคลิกเลยhttps://www.thailandpostmart.com
ประเพณีการเลี้ยงขันโตก เป็นประเพณีของชาวเหนือที่นิยมปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณ การเลี้ยงแขกโดยการกินข้าวขันโตก ซึ่งอาจมีหลายชื่อทีใช้เรียกขานกัน เช่น กิ๋นข้าวแลงขันโตก หรือเรียกสั้นๆ ว่า ประเพณี ขันโตกหรือสะโตกขันโตกเป็นภาชนะที่ทำด้วยไม้ โดยนำมากลึงให้เป็นลักษณะกลมเหมือนถาดขันโตกขนาดเล็กนั้น จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๔ นิ้ว และขนาดใหญ่จะมีขนาดอยู่ที่ประมาณ ๒๐ นิ้ว หรือถ้าเป็นขันโตกสำหรับ เจ้านายฝ่ายเหนือ หรือคหบดีก็จะดัดแปลงให้หรูหราตามแต่ฐานะบ้างก็ใช้เงินทำหรือ “ทองกาไหล่” หรือไม่ก็ลงรัก ปิดทอง
ในสมัยก่อน ชาวเหนือนิยมรับประทานอาหารกับพื้น เมื่อแม่บ้านทำกับข้าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะยกออกมาตั้งโตก โดยในขันโตกนั้นจะมีกับข้าวพร้อมและเมื่อรับประทานอาหารเรียบร้อยแล้วก็ยก ไปเก็บทั้งโตก เป็นการประหยัดเวลาในการจัดและเก็บถือเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาวเหนือที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาซึ่งการเลี้ยงขันโตกก็ยังได้รับความนิยมและใช้เลี้ยงรับรองผู้มาเยือนอยู่เสมอๆ
จุดมุ่งหมายของการกินข้าว แบบขันโตกที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนา มาจากสมัยก่อน โดยถือว่านอกจากจะเพื่อเป็นการเลี้ยงรับรองแขกที่มาเยือน ให้หรูหรา สมเกียรติและเพื่อให้เกิดความอบอุ่นประทับใจใน การต้อนรับแล้วยัง ได้มีการประยุกต์เอาวิธีการเลี้ยงดูแขกให้มีความหมายลึกซึ้งยิ่งขึ้น ด้วยการเพิ่มสีสันของการจัดงาน ให้ยิ่งใหญ่ดูวิจิตรพิสดาร เพียบพร้อมไปด้วย บรรยากาศของเมืองเหนือจริงๆ โดย ประดับประดาเวทีด้วย ดอกไม้ต้นไม้ให้ดูผสมผสานและดูกลมกลืนกันไป การตระเตรียมขั้นตอนการดำเนินงานเลี้ ยงขันโตกเพื่อให้พิธีการ หรูหรา ประณีต และงดงามเหล่านี้เป็นการสร้างบรรยากาศเลี้ยงรับรองแขกเหรื่อ เพื่อให้ประทับใจและถือเป็นการให้ ความยกย่องแขกทั้งสิ้น
จะเห็นว่า การกินข้าวขันโตกของชาวเหนือนั้นนอกจากจะมีจุดมุ่งหมายเพื่อ แสดงน้ำใจในการต้อนรับแขกและเป็นการให้เกียรติแก่ผู้มาเยือนแล้วในปัจจุบันก็ยังได้มีจุดมุ่งหมายที่แฝงอยู่หลายประการ เช่น บางท้องถิ่นก็ได้จัดงานเลี้ยง ขันโตก เพื่อเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณี ในท้องถิ่นของตนเองเพื่อฟื้นฟูการแต่งกายแบบพื้นเมืองเพื่อการทำอาหารพื้นเมืองเพื่อส่งเสริมการ ท่องเที่ยวให้ชาวบ้านมีรายได้มีงานทำด้วย บางแห่งก็มีการจัดงาน เลี้ยงขันโตกเพื่อหารายได้สำหรับสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่น
งานจะเริ่มจากการร่วมแรงร่วมใจกันตระเตรียมสิ่งของ เครื่องใช้ต่างๆตลอด ไปจนสถานที่ โดยจะประดับเวที ฉาก และการแสดงบนเวที สำหรับสถานที่นิยมจัดในที่กลางแจ้ง เช่น สนามหญ้าต่างๆ แล้วนำเสื่อมาปู ส่วนมากเป็นเสื่อยาวๆจะนั่งกันประมาณ ๕ ถึง ๖ คน มีขันโตกตั้งอยู่ตรงกลางในขันโตกส่วนมากก็จะมี อาหารประมาณ ๕ อย่าง ตัวอย่างเช่น แกงอ่อม แคบหมูแกงฮังเล น้ำพริกอ่อง ชิ้นปิ้ง ผักสด และที่ขาดไม่ได้ คือ ข้าวเหนียวหรือที่ชาวเหนือเรียกกันว่า ข้าวนึ่ง ข้าวนึ่งของชาวเหนือนั้นจะต้องอาศัยทักษะและ ความรู้ในการทำพอสมควร คือ เริ่มจากนำข้าวไปแช่น้ำเรียกว่า การหม่าข้าวไว้ ๑ คืน ในหม้อข้าวหม่า (หม้อที่ใช้สำหรับแช่ข้าวเหนียว) ซึ่งก่อนที่จะทำการนึ่งต้องซาวข้าวด้วยการใช้ซ้าหวด (คือ ภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่สำหรับใส่ข้าวเหนียวเอาไปล้างน้ำให้สะอาดก่อน ที่จะนำไปนึ่ง) การนึ่งจะต้องใช้ไหข้าวมีฝาปิดมิดชิดให้ข้าวสุกดีขึ้น แล้วยกลงมานำไปวางในภาชนะที่เรียกว่า กั๊วะข้าว หรือถาด ต้องคอยคนให้ไอน้ำในข้าวระเหยออกไปบ้าง และคอยระวังไม่ให้ข้าวแฉะ ข้าวแข็ง หรือสุกไม่ทั่วกันเมื่อข้าวสุก ได้ที่แล้ว ก็นำข้าวไปใส่ กระติ๊บบ้างหรือที่ทางเหนือเรียกว่า แอ๊บ หรือก่องข้าว ซึ่งนิยมสานด้วย
สำหรับงานเลี้ยงข้าวขันโตกจะมีกระติ๊บข้าวนึ่งที่มีขนาดใหญ่อีกกระติ๊บหนึ่ง เรียกว่า กระติ๊บหลวงมีลักษณะเหมือนกระติ๊บทั่วไปแต่มีขนาดใหญ่มาก อาจต้องใช้คนหามเข้าขบวนแห่นำขบวน ขันโตก โดยมีขบวนสาวงามช่างฟ้อนนำขบวนขันโตกเข้ามาในงาน ผสมกับเสียงดนตรี และเสียงโห่ร้องเพื่อแสดงความยินดีเมื่อสาวงามช่างฟ้อนมาถึงงานเลี้ยงแล้ว ก็จะนำกระติ๊บหลวงไปวางไว้กลางงานและนำข้าวนึ่ง ในกระติ๊บหลวง ออกแบ่งใส่กระติ๊บเล็กๆ แจกจ่ายไปตามโตกต่างๆจนทั่วบริเวณงาน ซึ่งมีโตกกับข้าวเตรียมไว้ก่อนแล้ว
ขอบคุณข้อมูลจาก http://mblog.manager.co.th/thaicustom/th-123687/