*อาหารฮาลาล*
ข้าวเกรียบปลาอบกรอบ รสฟักทอง
ข้าวเกรียบปลาอบกรอบ แผ่นบาง กรอบ อร่อย ผลิตจากปลาทูล้วน คุณค่าทางโภชนาการสูง
ปราศจากวัตถุกันเสีย และสีสังเคราะห์ เป็นของกินก็ถูกปาก เป็นของฝากก็ถูกใจ
วิธีรับประทาน
- รับประทานเล่นเป็นขนมขบเคี้ยว
- นำไปประกอบอาหารร่วมกับเมนูอื่น ๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยว ข้าวต้ม โจ๊ก ข้าวยำ ส้มตำหรือสลัด เป็นต้น
สินค้าฮาลาลขึ้นชั้นร้านออนไลน์ไปรษณีย์ ประเดิม 40 รายการ “สั่งพร้อมส่งทั่วไทย”
ไปรษณีย์ไทยเดินหน้าการตลาด 4.0 จากออฟไลน์สู่ออนไลน์ ส่งเสริมสินค้าฮาลาล 3 จังหวัดชายแดนใต้ขึ้นชั้นวางบน www.thailandpostmart.com ของว่างรสเลิศกว่า 40 รายการ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลา และผลไม้ไปจนถึงขนมปั้นสิบ สั่งได้แล้วพร้อมส่งให้ถึงมือ นายวิบูลย์ เสรีชัยพร
ผู้จัดการฝ่ายการบริหารลูกค้า บริษัท ไปรษณีย์ไทย จากัด (ปณท) เปิดเผยถึงความร่วมมือระหว่างไปรษณีย์ไทยกับศูนย์อานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในการคัดสรรสินค้าฮาลาล ของดีของเด่นจากชุมชน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน อย. และ GMP เพื่อให้
ผู้บริโภคสามารถสั่งซื้อได้อย่างสะดวก พร้อมส่งให้ถึงมือผ่านร้านออนไลน์ www.thailandpostmart.com ทั้งบนเว็บไซต์และแอปมือถือ“ในจานวน 40 รายการสินค้าฮาลาลที่เริ่มวางจาหน่ายครั้งนี้ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากจังหวัดปัตตานี 29 รายการ ยะลา 8 รายการ และนราธิวาส 3 รายการ มีทั้งผลิตภัณฑ์จากปลา เช่น กือโป๊ะ หรือข้าวเปรียบปลาอบกรอบ ปลากระตักทอด ปั้นสิบปลา และสินค้าแปรรูปจากผลไม้ ได้แก่ กล้วยหินฉาบเค็ม ลูกหยีกวน มังคุดกวน โดยผู้สนใจสามารถสั่งซื้อได้ในราคาพร้อมส่งทุกรายการ”
ไปรษณีย์ไทยเริ่มจาหน่ายสินค้าฮาลาลของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านที่ทาการไปรษณีย์ทั่วประเทศมาตั้งแต่ปี 2557 และได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การขยายช่องทางจำหน่ายจากออฟไลน์สู่ออนไลน์ครั้งนี้ นอกจากตอบสนองความสะดวกรวดเร็วแก่ลูกค้าในทุกพื้นที่ทั่วประเทศแล้ว ยังจะช่วยเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้แก่วิสาหกิจชุมชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้มากขึ้นด้วย
รู้จัก อาหารฮาลาล
"อาหารฮาลาล (Halal Food) หมายถึง อาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งอนุมัติตามบัญญัติศาสนาอิสลามให้มุสลิมบริโภคหรือใช้ประโยชน์ได้"
“ฮาลาล” เป็นคำมาจากภาษาอารบิก หมายความว่า การผลิต การให้บริการ หรือการจำหน่ายใด ๆ ที่ไม่ขัดต่อบัญญัติของศาสนา ดังนั้น เราจึงอาจกล่าวได้ว่า “อาหารฮาลาล” คือ อาหารที่ได้ผ่านกรรมวิธีในการทำ ผสม ปรุง ประกอบ หรือแปรสภาพ ตามศาสนบัญญัตินั่นเอง เป็นการรับประกันว่า ชาวมุสลิมโดยทั่วไปสามารถบริโภคอาหาร หรืออุปโภคสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ได้โดยสนิทใจ เราสามารถสังเกตผลิตภัณฑ์ว่าเป็น “ฮาลาล” หรือไม่นั้น ได้จากการประทับตรา “ฮาลาล” ที่ข้างบรรจุภัณฑ์นั้นเป็นสำคัญ
“เครื่องหมายฮาลาล” คือเครื่องหมายที่คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดต่าง ๆ ได้อนุญาตให้ผู้ประกอบการทำการประทับ หรือแสดงลงบนสลาก หรือผลิตภัณฑ์ หรือกิจการใด ๆ โดยใช้สัญญลักษณ์ที่เรียกว่า “ฮาลาล” ซึ่งเขียนเป็นภาษาอาหรับว่าภายในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หลังกรอบเป็นลายเส้นแนวตั้ง ใต้กรอบภายในเส้นขนานมีคำว่า “สนง.คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” โดยเครื่องหมายดังกล่าวนี้ จะออกให้กับผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ฮาลาล และหรือเนื้อสัตว์ฮาลาลที่นำเข้าจากต่างประเทศ เป็นต้น
มาตรฐานอาหารฮาลาล
ปัจจุบันในตลาดโลกมีผู้บริโภคที่เป็นมุสลิมอยู่ประมาณ 2,000 ล้านคนการค้าขายจำเป็นต้องทำทุกวิถีทางที่จะเข้าไปมีส่วนแบ่งในตลาดอาหารจากประเทศที่มีชาวมุสลิมให้มากขึ้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศทีผลิตอาหารที่สำคัญของโลก ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องให้ความสนใจในเครื่องหมายนี้อย่างจริงจัง ผู้ที่เกียวข้องต้องเรียนรู้ และอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจอย่างถูกต้องเพื่อเตรียมความพร้อมของการผลิต สร้างฐานที่แข็งแกร่งให้กับประเทศต่อไป
Codex ได้จัดทำเอกสาร General Guideline for use of the Term " Halal " ตั้งแต่ปี 2540 และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม(สมอ.) ได้นำมาเรียบเรียงและจัดพิมพ์เป็นภาษาไทยโดยได้ยึดหลัก และอ้างอิงเอกสารภาษาอังกฤษดังกล่าว มอก.1701-2541 ZCAC GL- 24/1997) ข้อแนะนำนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ประเทศต่าง ๆ มีความเข้าใจที่ตรงกัน และมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามกฎของศาสนาอิสลาม ทั้งทางด้านแหล่งที่มาของอาหาร วิธีการฆ่าสัตว์ การเตรียมอาหาร การแปรรูปอาหาร การบรรจุหีบห่อ การขนส่งและการเก็บรักษาอาหารอีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการค้ากับประเทศมุลลิมที่กำหนดมาตรการนำเข้าอาหารฮาลาล
ความสำคัญและความหมายของอาหารฮาลาล
มุสลิมมีความศรัทธาว่า "ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ นบีมุฮัมมัดเป็นผู้สื่อ (รอซูล) ของอัลลอฮฺ" และมุสลิมมีความเชื่ออย่างมั่นใจว่า อัลลอฮฺ คือผู้สร้างมนุษย์และสรรพสิ่งในจักรวาล ดังนั้น คำบัญชาของอัลลอฮฺ (อัล-กุรอาน) คำสอนและแบบอย่างของนบีมุฮัมมัด (ซุนนะห์) จึงเป็นเรื่องที่มุสลิมจะต้องปฏิบัติตามด้วยความจริงใจและจริงจัง กล่าวคือ ปฏิบัติในสิ่งที่อนุมัติ (ฮาลาล) และไม่ปฏิบัติในสิ่งที่เป็นข้อห้าม (ฮารอม) ด้วยความเต็มใจและยินดี
ฮาลาล-ฮารอมในอิสลามจึงมิได้หมายความเพียงการบริโภคอาหารเท่านั้น แต่ครอบคลุมถึงวิถีการดำเนินชีวิตในทุกด้าน เพราะอิสลามคือระบอบแห่งการดำเนินชีวิตของมนุษย์
อาหารฮาลาล (Halal Food) จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิมในการบริโภค ส่วนผู้ที่มิใช่มุสลิม หากบริโภคอาหารฮาลาลก็จะได้ประโยชน์ต่อสุขภาพเช่นเดียวกันเพราะอาหารฮาลาลจะต้องมีกระบวนการผลิตที่ถูกต้องตามข้อบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม ปราศจากสิ่งต้องห้าม (ฮารอม) และมีคุณค่าทางอาหาร (ตอยยิบ)
หน้าที่ของผู้เชือดสัตว์ตามศาสนบัญญัติเพื่อให้ได้เนื้อสัตว์ที่ฮาลาล มีดังนี้
- ต้องนับถือศาสนาอิสลาม
- สัตว์ที่จะเชือดนั้น ต้องเป็นสัตว์ที่รับประทานได้ตามหลักศาสนาอิสลาม
- ต้องไม่ปะปนสัตว์ที่จะเชือดกับสัตว์ต้องห้ามในระหว่างขนส่ง
- ต้องไม่ทารุณสัตว์ก่อนการเชือด ตลอดจนอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชือดต้องมีความคม
- ให้ผู้เชือดกล่าวพระนามของพระผู้เป็นเจ้า ขณะเริ่มทำการเชือด โดยต้องเชือดในคราวเดียวกันให้แล้วเสร็จ โดยไม่ทรมานสัตว์
- ต้องเชือดให้หลอดลม หลอดอาหารและเส้นเลือดข้างลำคอของสัตว์ที่ถูกเชือด ขาดออกจากกันอย่างสิ้นเชิง โดยสัตว์จะต้องตายเพราะการเชือดเท่านั้น สัตว์นั้นต้องตายสนิทเองก่อน จึงจะนำไปดำเนินการอย่างอื่นต่อได้
ผู้ประกอบการ หรือผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาล มีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
- รักษาอุปกรณ์ในการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาลให้สะอาดถูกต้องตามศาสนบัญญัติ ตลอดจนไม่ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวร่วมกับของต้องห้ามตามศาสนบัญญัติ
- วัตถุดิบหลักในการผลิต ตลอดจนเครื่องปรุงอื่น ๆ ต้องระบุแหล่งที่มาอันน่าเชื่อถือได้ว่า “ฮาลาล” โดยไม่แปดเปื้อนกับสิ่งต้องห้าม
- วัตถุดิบที่ได้จากสัตว์ต่าง ๆ นั้น ต้องเป็นสัตว์ที่ศาสนาอิสลามอนุมัติ และหรือได้เชือดตามศาสนบัญญัติ
- เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมการผลิต หรือปรุงผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ต้องเป็นมุสลิม
- ในระหว่างการขนย้าย ขนส่ง หรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ฮาลาลนั้น ต้องไม่ปะปนผลิตภัณฑ์ฮาลาลนั้น ต้องไม่ปะปนผลิตภัณฑ์ฮาลาลกับสิ่งต้องห้ามตามศาสนบัญญัติ
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.acfs.go.th/halal/general.php